หน่วยที่6 การสร้างฟอร์มในมุมมองออกแบบ

Google                 Youtobe               PSV              สพม11

การสร้างฟอร์มในมุมมองออกแบบ

ส่วนประกอบของตัวฟอร์ม   Design View ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ

  1. ส่วนหัวของฟอร์ม Form Header  จะแสดงอยู่ในส่วนบนสุดของฟอร์ม ซึ่งจะพิมพ์เฉพาะหน้าแรกเท่านั้น เป็นส่วนที่ใช้แสดงข้อความ เช่น ชื่อฟอร์ม วันที่และเวลา เป็นต้น
  2. ส่วนหัวของหน้า Page Header  จะถูกพิมพ์อยู่ส่วนบนสุดของแต่ละหน้า
  3. ส่วนรายละเอียด Detail        เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดต้องมีเสมอแต่กำหนดให้ไม่แสดง(คือมองไม่เห็น)ได้ เป็นส่วนที่ใช้วางเขตข้อมูลหรือตัวควบคุมที่ใช้แสดงข้อมูลหรือรับข้อมูลจากผู้ใช้ รวมทั้งเป็นส่วนที่ใช้วางฟอร์มย่อย
  4. ส่วนท้ายของฟอร์ม Page Footer  จะถูกพิมพ์ในส่วนล่างสุดของแต่ละหน้า
  5. ส่วนท้ายของฟอร์ม Form Footer มักจะแสดงอยู่ส่วนล่างสุดของหน้าจอฟอร์ม ซึ่งจะถูกพิมพ์อยู่เฉพาะหน้าสุดท้าย

31

การเพิ่มหรือลบส่วนหัว / ส่วนท้ายของหน้า และฟอร์ม

  1. คลิกขวาบนหน้าจอ Form Design
  2. คลิกเลือกคำสั่งที่ต้องการจะเพิ่มหรือลบส่วนหัว / ส่วนท้ายของหน้า และฟอร์มนั้นๆ

การสร้างฟอร์มด้วยมุมมองออกแบบอย่างง่าย

  1. ที่แท็บ สร้าง (Create) คลิกไอคอนคำสั่ง ออกแบบฟอร์ม(Form Design) เพื่อสร้างฟอร์มเปล่าขึ้นมาก่อน

32

2. ที่แถบ ออกแบบ (Design) คลิกไอคอนคำสั่ง เพิ่มเขตข้อมูลที่มีอยู่  (Add existing Field) เพื่อเลือกตารางและฟิลด์ที่ต้องการ

33

3. คลิกเครื่องหมาย + (บวก) หน้าตารางที่ต้องการ

4.ดับเบิลคลิกฟิลด์ที่ต้องการ  หรือถ้าต้องการเลือกฟิลด์ทั้งหมด ให้คลิกที่ฟิลด์แรกแล้วกดแป้น Ctrl  บนแป้นคีย์บอร์ดค้างไว้แล้วคลิกที่ฟิลด์สุดท้าย จะปรากฏแถบสีดำทุกฟิลด์แล้วลากมาตำแหน่งที่ต้องการ

ส่วนประกอบของฟิลด์

34

  1. ป้ายชื่อ (label) ใช้แสดงข้อความ
  2. กล่องข้อความ (Text box) ใช้แสดงข้อมูลในฟิลด์ที่ดึงมาจากตารางหรือคิวรี

การสลับเปลี่ยนมุมมอง

  1. คลิกที่ มุมมอง (View)
  2. เลือกมุมมองที่ต้องการ

35

การกำหนดคุณสมบัติของคอนโทรล (Property)
หลังจากที่ได้นำคอนโทรลแต่ละตัวมาวางบนฟอร์มแล้วเราจะต้องกำหนดคุณสมบัติให้คอนโทรลแต่ละตัว เพื่อให้แต่ละตัวทำงานได้อย่างถูกต้องและตรงตามการใช้งาน วิธีกำหนดคุณสมบัติมีดังนี้

  1. คลิกไอคอนคำสั่ง แผ่นคุณสมบัติ (property sheet) ที่แท็บ ออกแบบ (Design)
  2. คลิกเมาส์ขวาของแต่ละคอนโทรลแล้วเลือกคำสั่ง คุณสมบัติ (properties) ซึ่งประกอบด้วยแถบต่างๆ ดังนี้

Format :              ใช้กำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับรูปแบบการแสดงผลของคอนโทรล
Data       :               ใช้กำหนดแหล่งข้อมูล และกำหนดรูปแบบในการแสดงข้อมูลใน ฟอร์มโดยเลือกจากตารางหรือคิวรี
เหตุการณ์ :           กำหนดว่าเมื่อเหตุการณ์หนึ่งแล้วต้องการให้ส่วนใดของโปรแกรมทำงาน
อื่นๆ       :               ในส่วนนี้จะมีหลายๆ ส่วนรวมอยู่
ทั้งหมด :               แสดงคุณสมบัติที่มีทั้งหมดของคอนโทรลนั้นๆ

สรุปขั้นตอนการสร้างฟอร์ม

      • สร้างฟอร์มเปล่า กำหนดแหล่งข้อมูล และกำหนดคุณสมบัติของฟอร์ม
      • สร้างคอนโทรลบนฟอร์ม และกำหนดคุณสมบัติของคอนโทรล
      • ปรับแต่งคอนโทรลและฟอร์ม

จัดเก็บและเรียกใช้ฟอร์ม

ใส่ความเห็น